Translate

วันเสาร์ที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การคัดแยกขยะให้ถูกวิธี

ประเภทของขยะที่ทิ้งกันอยู่ทั่วไปมี   4 ประเภท ได้แก่ 


1.ขยะย่อยสลายได้   เช่น  เศษอาหารและพืชผัก    ที่เหลือจากการรับประทาน    และการประกอบอาหาร  สามารถนำไปหมักทำปุ๋ยได้   จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมดมีประมาณ 46 % 
2.ขยะรีไซเคิลหรือขยะที่สามารถนำไปขายได้  เช่น  แก้ว  กระดาษ  พลาสติก  โลหะ/อโลหะ  ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด  มีอยู่ประมาณ  42  %        
3.ขยะทั่วไป  เป็นขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มค่าในการนำไปรีไซเคิล  เช่น  ซองบะหมี่สำเร็จรูป  เปลือกลูกอม  ถุงขนม  ถุงพลาสติก 
จากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด   ประมาณ  9 % 
4.ขยะพิษ  หรือขยะมีพิษที่ต้องเก็บรวบรวมแล้วนำไปกำจัดอย่างถูกวิธี  เช่น  กระป๋องยาฆ่าแมลง  หลอดไฟ    ถ่านไฟฉาย  ซึ่งจากปริมาณขยะมูลฝอยทั้งหมด  มีอยู่ประมาณ  3  %                                     
          
วิธีการกำจัดขยะ


      การกำจัดขยะไม่ให้มี    คงกำจัดไม่ได้   เพราะในชีวิตประจำวันเราต้องใช้สิ่งของที่เป็นเครื่องอุปโภค  บริโภค    จึงจำเป็นต้องมีของเหลือทิ้ง    วิธีที่จะทำให้ขยะไม่เป็นปัญหากับมนุษย์และสิ่งแวดล้อม     ก็คือการลดปริมาณขยะการทำให้ปริมาณขยะที่จะทิ้งลดลง    อาจโดยการนำสิ่งที่เป็นขยะนั้นกลับมาใช้ประโยชน์อีกหรือการลดปริมาณการใช้และให้เหลือสิ่งที่จะทิ้งเป็นขยะจริงเพียงเท่าที่ไม่สามารถใช้ประโยชน์อื่นใดได้อีก  ดังนี้
   
 1.การลดการใช้  หรือการลดขยะจากแหล่งที่เกิด  โดยพยายามหลีกเลี่ยงหรือลดการเกิดขยะหรือมลพิษที่เกิดขึ้น  เช่น  การใช้ถุงผ้าแทน
การใช้ถุงพลาสติก 
     
 2.การนำผลิตภัณฑ์มาใช้ซ้ำ  เป็นการนำวัสดุของใช้กลับมาใช้ในรูปแบบเดิมหรือนำมาซ่อมแซมใช้  หรือนำมาใช้ทำประโยชน์อื่น ๆ โดยแบ่งได้เป็น  2  ขั้นตอนคือ
                - ขั้นตอนการผลิตสินค้า  พยายามทำให้เกิดเศษวัสดุหรือของเสียน้อยที่สุด
                - ขั้นตอนการนำของใช้มาใช้ซ้ำ  เป็นการยืดอายุการใช้งานก่อนจะนำไปทิ้ง  เช่น  การนำขวดพลาสติกมาบรรจุน้ำ  การใช้กระดาษ  2 หน้า
     
 3. การนำกลับมาผลิตใหม่  เป็นการแยกวัสดุที่ไม่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ออกจากขยะและรวบรวมใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตสินค้าขึ้นใหม่หรือเรียกว่า  รีไซเคิล
     
 4. การหลีกเลี่ยงการใช้วัสดุกำจัดยาก  เช่น  กล่องโฟม  การใช้จานหรือแก้วกระดาษ  ยาฆ่าแมลง  ควรใช้สมุนไพรเป็นสารกำจัด
     
 5. การซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่     เป็นการซ่อมแซมวัสดุที่ใช้แล้ว   ที่สามารถซ่อมแซมนำกลับมาใช้ใหม่ได้  เช่น  การซ่อมแซมเสื้อผ้า อุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด  เป็นต้น
                        ผลกระทบของขยะมูลฝอยต่อสภาวะแวดล้อม         
 ขยะมูลฝอยนั้น นับวันจะเพิ่มมากขึ้นตามจำนวนของประชากร ถ้าหากไม่มีการกำจัดขยะมูลฝอยให้ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว    ปัญหาความสกปรกต่าง ๆ ที่เกิดจากขยะมูลฝอยจะต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอน  ถ้ามองกันอย่างผิวเผินแล้ว    ขยะมูลฝอยนั้นไม่ได้มีผลกระทบต่อมนุษย์มาก   ทั้งนี้อาจเป็นเพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นโดยตรงต่อมนุษย์    ยังอยู่ในขั้นที่ไม่รุนแรงมากนัก    ผลกระทบที่เกิดขึ้นจึงไม่ชัดเจนเท่าไร    แต่ในความเป็นจริงแล้ว     ขยะมูลฝอยจะก่อให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมเป็นอย่างมาก     และจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ด้วย  ทั้งโดยทางตรงและทางอ้อม  ทั้งนี้เนื่องจาก 
1.ขยะมูลฝอยเป็นแหล่งอาหารและแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงนำโรค   เช่น   แมลงวัน    แมลงสาบ   ยุง ฯลฯ และเป็นที่ซุกซ่อนของหนูและ
สัตว์อื่น ๆ 
2.ขยะมูลฝอย   ทำให้เกิดกลิ่นเหม็นและก่อให้เกิดความรำคาญ 
3.ขยะมูลฝอยที่ทิ้งเกลื่อนกลาด ถูกลมพัดกระจัดกระจายไปตกอยู่ตามพื้น  ทำให้พื้นที่บริเวณนั้นสกปรก ขาดความสวยงาม เป็นที่รังเกียจแก่
ผู้พบเห็น และผู้ที่อาศัยบริเวณใกล้เคียง นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่ตกอยู่หรือถูกทิ้งลงในคูคลอง หรือทางระบายน้ำ จะไปสกัดกั้นการไหลของน้ำ    ทำให้แหล่งน้ำสกปรกและเกิดการเน่าเสีย 
4.น้ำเสียที่เกิดจากกองขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้      เป็นน้ำเสียที่มีความสกปรกสูงมาก   ซึ่งมีทั้งสารอินทรีย์     สารอนินทรีย์      เชื้อโรค และสารพิษต่าง ๆ เจือปนอยู่   เมื่อน้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลไปตามพื้นดินบริเวณใด    ก็จะทำให้บริเวณนั้นเกิดความสกปรก  และความ
เสื่อมโทรมของพื้นดินและอาจเปลี่ยนสภาพ   ทำให้ดินมีคุณสมบัติเป็นดินด่างหรือดินกรดได้ ในกรณีที่น้ำเสียจากกองขยะมูลฝอยไหลลง
สู่แหล่งน้ำก็จะทำให้คุณภาพน้ำเสียไป    ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นแหล่งน้ำผิวดินหรือแหล่งน้ำใต้ดินก็ตาม   ล้วนเป็นอันตรายต่อผู้ใช้น้ำและสิ่งที่มี
ชีวิตที่อาศัยในแหล่งน้ำ   
5.ขยะมูลฝอย   ทำให้เกิดมลพิษแก่อากาศ    ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้ในเขตชุมชน หรือที่กองทิ้งไว้ในแหล่งกำจัดซึ่งไม่มีการฝังกลบ หรือ
ขณะที่ทำการเก็บขนโดยพาหนะที่ไม่มีการปกปิดอย่างมิดชิด   ขยะมูลฝอยเหล่านั้นส่งกลิ่นเหม็นน่ารังเกียจออกมา     เศษชิ้นส่วนของ
ขยะมูลฝอยจะสามารถปลิวไปในอากาศ       ทำให้เกิดความสกปรกแก่บรรยากาศ ซึ่งมีผลต่อสุขภาพของมนุษย์และความสกปรกให้กับ
บริเวณข้างเคียงได้นอกจากนี้ขยะมูลฝอยที่กองทิ้งไว้นาน ๆ      จะมีก๊าซที่เกิดจากการหมักขึ้น    ได้แก่  ก๊าซชีวภาพ   ซึ่งติดไฟหรือ
เกิดระเบิดขึ้นได้ และก๊าซไข่เน่า (ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์) ซึ่งมีกลิ่นเหม็น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น